top of page

Learning in Innovation and Experimental Education Project

โครงการการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง

วัตถุประสงค์การจัดตั้งโครงการการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง

1. สร้างเยาวชนให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

 

2. สร้างเยาวชนที่มีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทยและทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่21

 

3. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมาตรฐานและประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

4. สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของเยาวชนให้มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์

5. เยาวชนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

พันธกิจหลักของโครงการการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง

โครงการการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลองเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่บ่มเพาะสมรรถนะด้านนวัตกรรมให้แก่เยาวชนโดยมีแนวทางดังนี้

1. ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมโดยอาศัยจัดการเรียนการสอนเชิงประลอง

2. จัดให้มีการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการเรียนบนระบบดิจิทัลและการเรียนแบบปกติ

3. เตรียมความพร้อมเยาวชนสู่โลกของธุรกิจ อุตสาหกรรมและการเกษตรแนวใหม่

4. สร้างเยาวชนที่ให้มีเส้นทางชีวิตที่มั่นคงโดยยึดหลักเป็นคนดีและคนเก่ง

วิสัยทัศน์ของโครงการการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง

        ตามยุทธศาสตร์ชาติ  6 ด้าน ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน มีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึงเพื่อพัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เร่งเสริมสร้างสังคมนวัตกรรม ผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี ซึ่งสอดคล้อกับการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบุคคลในศตวรรษที่ 21 (อ้างอิง นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานที่เกี่ยวข้องกับจุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

          สมรรถนะของบุคคลในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วยการอ่านออกเขียนได้ การคำนวณตัวเลข การมีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ การรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การมีความรู้ทางด้านการเงิน การเข้าใจกฎระเบียบสังคมและวัฒนธรรม การมีความสามารถในการใช้วิจารณญาณ การมีความสามารถในการแก้ปัญหา การมีความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ การมีความสามารถในการสื่อสาร การมีความสามารถในการทำงานร่วมกัน  การมีความกระหายใคร่รู้ การมีความคิดริเริ่ม การมีความเพียร การมีความอ่อนตัว การมีความเป็นผู้นำ การมีความตระหนักต่อสังคมและวัฒนธรรม (อ้างอิง The World Economic Forum(2015)  New vision for education - Unlocking the potential of technology) ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะต่างๆได้อย่างรวดเร็วการจัดการศึกษาเชิงประลองจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่สามารถส่งเสริมความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เรียนได้

          การจัดการเรียนการสอนเชิงประลองเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการปฏิบัติงาน มีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ ให้ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะฝีมือควบคู่กันไป โดยผู้เรียนได้ลงไม้ลงมือทำงานจริง ในเวลาที่เพียงพอเหมาะสม การจัดการเรียนการสอนเชิงประลองมีแนวทางในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนพิสูจน์ ทราบความเป็นจริงในเนื้อหาวิชาทางด้านทฤษฎี และ ส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการคิดแก้ปัญหาโดยการวิเคราะห์ผลเชิงทฤษฎี ดังนั้นการเรียนรู้เชิงประลองของผู้เรียน จึงต้องมีการทดลองให้มีผลลัพธ์เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำมาศึกษา ซึ่งการจัดการศึกษาเชิงประลอง มีลักษณะรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ คล้ายกันกับการเรียนแบบปฏิบัติ (Learning by Doing) แต่สิ่งที่จะขาดเสียมิได้ในการจัดการเรียนการสอนเชิงประลอง คือผู้เรียนจะต้องจดบันทึกผลจากการทดลองและวิเคราะห์ผลด้วย ซึ่งมีลักษณะการจัดการเรียนการสอนดังนี้ (อ้างอิง บทความการจัดการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ.)

            ลักษณะที่ 1) ผู้สอนเป็นผู้สรุปทบทวนทฤษฎีที่จะทดลองให้ผู้เรียนฟัง พร้อมทั้งสาธิตการทดลองบางส่วนแก่ผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนทำการทดลอง บันทึกผลจากการทดลองและวิเคราะห์ผลจากการทดลองว่าเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่อย่างไร

 

         ลักษณะที่ 2) การจัดการเรียนการสอนทำโดย ให้ผู้เรียนศึกษาทฤษฎีที่จะศึกษาทดลองด้วยตนเองมาก่อน จากนั้นครูและผู้เรียนร่วมกันถกเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทฤษฎีอันนั้นจนเป็นที่กระจ่าง แล้วให้ผู้เรียนทาการทดลอง บันทึกผลจากการทดลองและวิเคราะห์ผล

            ลักษณะที่ 3) การจัดการเรียนการสอนทำโดยให้ผู้เรียนศึกษาทฤษฎี ปฏิบัติการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสรุปผลทั้งหมดด้วยตัวผู้เรียนเอง ในรูปแบบ Self-Learning ซึ่งเหมาะสมสำหรับการประลองที่ต้องการยืนยันคำตอบจากการทดลองเชิงปริมาณ

คณะกรรมการดำเนินงานโครงการการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง

unnamed.jpg

นางกัลยาณี  คงสมจิตร

ผู้อำนวยการ

unnamed (2).jpg

นายปิติภัทร  คงสมจิตร

ผู้ร่วมอำนวยการ

unnamed (1).jpg

นายคณิต  วัลยะเพชร์

ที่ปรึกษาฝ่ายแผนงาน

และความร่วมมือ

unnamed (3).jpg

ร้อยตรีชัชรินทร์  เลิศยศบดินทร์

ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ

หน่วยงานร่วมพันธมิตร

-sponlogo2021.png
bottom of page