top of page

Innovedex 2019

"Starting Spark"

6208181536-IMG_8359
6208180952-IMG_2129
6208181657-IMG_2468
6208180806-IMG_2031
6208180746-IMG_2013
6208180809-IMG_2035
6208181019-IMG_2136
6208180951-IMG_7989
6208181531-IMG_2349
6208180843-IMG_7937
6208181524-IMG_2341
6208180837-IMG_7925
6208181648-IMG_8409 (1)
6208180835-IMG_7914
6208181535-IMG_8353
6208181333-IMG_8179
6208180951-IMG_7990
6208181405-IMG_8248
6208181322-IMG_2239
6208180857-IMG_2091
6208180853-IMG_2087
6208180823-IMG_2047
6208181408-IMG_2308
6208180951-IMG_2128
6208181016-IMG_2135
6208181135-IMG_2207
6208181019-IMG_2136

ที่มาของโครงการ

 

        เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจของโลกในยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ ควรมีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยี, ในด้านการเขียนโปรแกรมและการประกอบหุ่นยนต์ โดยเยาวชนควรได้รับการชี้แนะและได้รับการอบรมในหลักสูตรที่เหมาะสม เพื่อให้ทันยุคทันสมัยและทันต่อความต้องการของตลาดแรงงานและอุตสาหกรรมในอนาคต

        สถาบันการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง (Innovedex) เชื่อว่าเทคโนโลยีในวันนี้สามารถฝึกสอนและเรียนรู้ได้ดีในเยาวชนช่วงวัย 13-18 ปี หรือช่วงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยที่เด็กนักเรียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เพียงแค่ขอได้รับแค่โอกาสในการเรียนรู้ ด้วยเหตุดังกล่าว สถาบันการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง ร่วมกับ โรงเรียนเทพศิรินทร์โดยท่านสุพจน์ หล้าธรรม ผู้อำนวยการ คณะครูและคณะกรรมการนักเรียน และ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด จึงได้ร่วมจัดงานโครงการนี้โดยการสนับสนุนของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้โอกาสแก่เยาวชนไทยได้ตื่นตัวในการพัฒนาตนเพื่อตรียมความพร้อม

        ในวันที่เริ่มต้นเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ Innovedex 2019 "Starting a Spark" ทางโครงการมีความตั้งใจที่จะรับทีมเข้าแข่งขันเพียง 50 ทีมเท่านั้น แต่ตั้งแต่วันที่เปิดรับสมัครจนถึงวันปิดรับสมัคร มีทีมที่สนใจและสมัครมามากถึง 355 ทีม และมีจำนวนนักเรียนที่สมัครมากถึง 1,060 คน ซึ่งแบ่งเป็น มัธยมศึกษาตอนต้น 170 ทีม ,มัธยมปลาย 185 ทีม หากจำแนกตามภูทิภาคทีมที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 ทีม และทีมที่มาจากต่างจังหวัด จำนวน 205 ทีม ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น,  อุบลราชธานี,  เชียงใหม่,  สระบุรี,  นครปฐม,  สุราษฎร์ธานี,  นครราชสีมา,  ลพบุรี,  ฉะเชิงเทรา,  ชัยนาท,  ชัยภูมิ,  บึงกาฬ,  อำนาจเจริญ,  ชุมพร,  นนทบุรี,  สุรินทร์,  สงขลา,  สิงห์บุรี,  ปทุมธานี,   เพชรบุรี,  สมุทรปราการ,  ชลบุรี,  ลพบุรี,  อุดรธานี,  สุพรรณบุรี,  นครปฐม,  ประจวบคีรีขันธ์,  อุทัยธานี,  อุตรดิตถ์,  และกาญจนบุรี 

 

        จากการตอบรับที่ดีมากของผู้สมัครทางคณะผู้จัดจึงทำการเพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมและแข่งขันขึ้นอีกรวมทั้งสิ้น 75 ทีม โดยที่ผู้เข้ารับการอบรมและแข่งขันทุกทีม จะได้รับชุดหุ่นยนต์  1 ชุด และหนังสือคู่มือการเขียนโปรแกรม พร้อมทั้งได้รับการอบรม 1 วันเต็มจากทีมวิทยากรและโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น  การอบรมและแข่งขันในโครงการ Innovedex 2019 Starting Spark ครั้งนี้ มีการมอบทุนการศึกษาจำนวน 48,000 บาทพร้อมโล่ห์รางวัล เหรียญรางวัล ใบประกาศนียบัตร และ ได้รับโอกาสไปศึกษาดูงานในโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทยในด้านระบบออโตเมชั่น

        สถาบันการเรียนรู้นวัตกรรมและการศึกษาเชิงประลอง มีความตั้งใจที่จะให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเขียนโปรแกรม และ การประกอบหุ่นยนต์ขั้นพื้นฐาน เพื่อไปต่อยอดและนำเป็นแนวทางในการเลือกการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายให้ทุกโรงเรียนในประเทศไทยมีชมรมหุ่นยนต์เกิดขึ้นทั่วประเทศ ในการจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนในเรื่องสถานที่และบุคลากรจากสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พร้อมทั้ง บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้มอบหุ่นยนต์แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Innovedex 2019 จำนวน 75 ชุด เป็นจำนวนเงินกว่า 600,000 บาท และบริษัทได้ให้ทุนการศึกษาแก่ทีมที่ชนะเลิศ 5 อันดับแรก ทั้งสองระดับ เป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท 

ผลลัพธ์ของโครงการ

        Innovedex มีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ในระยะสั้นเพื่อให้โอกาสนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาทั่วประเทศได้รับความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ และสนามทดสอบฝีมือ อย่างเท่าเทียมกัน. ในระยะกลางเพื่อให้นักเรียนรวมถึงผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการมีทักษะในการสร้างนวัตกรรม การประดิษฐ์คิดค้น และเข้าใจเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ในยุคที่มีปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติอย่างแพร่หลาย. ในระยะยาวเพื่อให้ประเทศไทยมีบุคคลากรที่มีความเป็นนวัตกรอยู่ในทุกองค์กรทุกสายอาชีพเพื่อการสร้างคุณค่าของแรงงานและเทคโนโลยีสูงที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศต่อไป

        วันแรกของงาน   นักเรียนทุกคนจะได้รับแจกชุดหุ่นยนต์พร้อมทั้งความรู้ในการใช้งานและต่อยอดด้วยตนเอง ด้วยทีมวิทยากรซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันต่างๆที่เป็นผลผลิตจากการสอนของผมในช่วง10ปีที่ผ่านมา และจนกระทั่งบัดนี้นักเรียนเหล่านั้นสามารถมาเป็นครูผู้ถ่ายทอดกันได้แล้ว(ขอบคุณลูกศิษย์ทั้งหลายที่เสียสละเวลามาช่วยทำฝันครูให้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์)

        วันที่สอง  เป็นการแข่งขันกันเพื่อชิงทุนการศึกษารวมกว่า50,000 บาท ซึ่งกติกาการแข่งขันเป็นโจทย์สด ที่กรรมการและผู้เข้าแข่งขันช่วยกันออกกฎ และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เท่าเทียมกันในการทำภารกิจ ซึ่งผมได้เห็นความอัจฉริยะข้ามคืนที่เกิดขึ้น จากความมุ่งมั่นตั้งใจใช้ความรู้และวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับ ไปทดสอบลองผิดลองถูกจนเกิดความรู้ด้วยตนเอง และปรากฎผลของการเรียนรู้ผ่านตัวหุ่นยนต์ที่ออกกมาแข่งขันทำภารกิจ

        ในช่วงสุดท้ายของงาน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคนแรกและคนปัจจุบัน ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการมอบทุนการศึกษาแก่ผู้ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน พร้อมทั้งให้แนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชน และประเทศชาติ

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลพร้อมทุนการศึกษาในการแข่งขัน "Innovedex 2019 Starting Spark"

 

ระดับมัมธมศึกษาตอนต้น 


รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 10,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ประกอบไปด้วย
        เด็กชายกรปภพ สิทธิฤทธิ์ 
       เด็กชายบุญฤทธิ์ สุขพณิชนันท์ 
       เด็กชายธฤต วิทย์วรสกุล 
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1ทุนการศึกษา 6,000 บาท ได้แก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ประกอบไปด้วย
       เด็กชายธราเทพ สมปอง 
       เด็กชายภาณุพงศ์ อภิมลนันทร 
       เด็กชายภัทรพล ทรัพย์งาม 
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษา 4,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนวัดราชาธิวาส ประกอบไปด้วย
       เด็กชายจักรกฤษณ์ แก้ววังอ้อ
       เด็กชายสุภัทร์พล เทียมศร 
       เด็กชายนภกานต์ ปรางสอน
รางวัลชมเชย(1)ทุนการศึกษา 2,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนทับ6วิทยาคาร ประกอบไปด้วย
       เด็กหญิงกัญญาณัฐ แสงวิเศษ 
       เด็กหญิงเยาวลักษณ์ ดีเรือก 
       เด็กหญิงนันทิชา หวังปักกลาง 
รางวัลชมเชย(2) ทุนการศึกษา 2,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ประกอบไปด้วย
       เด็กชาย ชนาธิป อมรธรรมสถิต
       เด็กชาย ธนกฤต ภิญโญกุล
       เด็กชาย รังสิมันต์ สุกเพ็ชร


ระดับมัมธมศึกษาตอนปลาย
 

รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 10,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ประกอบไปด้วย
       นายสิริวุฒิ ปริยวรวงศ์ 
       นายอรรถพันธ์ นามไพร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษา 6,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย, มงฟอร์ตวิทยาลัย ประกอบไปด้วย

       นางสาวพอฤทัย ชื่นจิตกุลถาวร 
       นางสาวทักษพร พรหมนุชานนท์ 
       นางสาวณภัทร เตชพิพัฒนกุล 
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษา 4,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม ประกอบไปด้วย

       นายสันติภาพ วิภาตะพันธุ์
       นายบุญฤทธิ์ เจิดรุจิกุล
       นายอภินันท์ ล้ออัศจรรย์
รางวัลชมเชย(1) ทุนการศึกษา 2,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนจิกดู่วิทยา ประกอบไปด้วย

       นายพัสกร ล้วนทอง
       นางสาวเกวลิน ดวงแก้ว
       นายปวีกรณ์  ยืนชนม์
รางวัลชมเชย(2) ทุนการศึกษา 2,000 บาท  ได้แก่ โรงเรียนวัดราชโอรส ประกอบไปด้วย

       นางสาวศุพัฒศร เกิดจันอัด 
       นายนันทกานต์ ภูมิเลิศ
       นายฌัฐวุฒิ ยศสมศักดิ์ 

ภาพบันทึกการแข่งขัน

การแข่งขันรอบเช้า

การแข่งขันรอบบ่าย

ภาพข่าวเผยแพร่

bottom of page